วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

OSI Model 7 Layer

OSI Model 7 Layer 

OSI Model เป็น medel มาตรฐานในการสื่อสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างระบบ 2 ระบบ ระบบจะเปิดการติดต่อสื่อสารในเค้าโครงสำหรับออกแบบ
ระบบเครื่อข่าย จะอนุญาตให้สื่อสารข้ามทุกรูปแบบของระบบคอมพิวเตอร์แยกเป็น 7 ชั้นแต่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นรูปแบบมาตรฐาน ISO
OSI Model ประกอบด้วย 7 Layer

1.Physical Layer
2.Data link Layer
3.Network Layer
4.Transport Layer
5.Sesion Layer
6.Presentation Layer
7.Application Layer




ทั้ง 7 สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1 Network support layer ได้แก่ Layer 1, 2, 3
กลุ่มที่ 2 Link ระหว่าง Network support layer กับ user support layer ได้แก่ layer 4
กลุ่มที่ 3 User support layer ได้แก่ layer 5, 6, 7


Functions of The Layers
Physical Layer
ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair(STP), Unshield Twisted Pair(UTP), Fibre Optic และอื่นๆ
-Physical ติดต่อระหว่างผู้รับ
-การส่งต่อข้อมูล
-สื่อกลาง & สัญญาณ
-เครื่องมือการติดต่อ


Data link layer
ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง
-ควบคุมการส่งข้อมูลบน Physical link
-ดูที่อยู่บนเครือข่าย Physical
-Framing
-ควบคุมให้เท่ากัน
-ควบคุมการผิดพลาด (Error)
-Synchronization ให้ผู้ส่งกับผู้รับใช้เวลาเดียวกันในส่งข้อมูล
-ควบคุมการใช้สายสื่อสาร

Network layer
ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน
-รับผิดชอบในการหาเส้นทางให้ส่งข้อมูลจากต้นทางไปปลายทาง
-Switching & Routing
-หาที่อยู่อย่างมีเหตุผล
-ไม่ต้องใช้ Technology ชั้นสูง
-ไม่ต้องใช้สายโดยตรง

Transport layer
ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end)โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port)ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
-ควบคุมการส่งข้อมูลจาก ต้นทางไปยังปลายทางข้อมูลใน Layer นี้เรียกว่า " package "
เหมือนกัน ใช้ port address
-Segmentation & Reassembly
-ส่งไปเป็นลำดับ Segment Number
-ควบคุมการติดต่อ
-Flow Control
-Eroor Control
-คุณภาพการบริการ (QoS)

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าหัว RJ-45

วิธีเข้าหัว RJ-45 และ อุปกรณ์ต่างๆในการเข้าหัว  
สิงที่ต้องเตรียม

1.สายแลนความยาวตามต้องการจะใช้แต่ต้องยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร หากน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้และความยาวสูงสุดของสายแลนไม่ควรเกิน 35-40 เมตร ถ้าต้องการใช้ยาวกว่านั้นควรเชื่อต่อ ด้วย Switching HUB


2.หัวแลน  หรือหัว RJ-45 หนึ่งเส้นใช้สองหัว ซื้อแบบดี ๆ หน่อยจะเข้าหัวง่ายถ้าซื้อแบบถูกตรงเขี้ยวมันจะไม่ค่อยคมเวลากดแล้วมันจะไม่แทงทะลุสายทำให้สายใช้งานไม่ได้ อย่างดีประมาณหัวละ 8 -10 บาท


3.คีมเข้าหัวแลน สามารถใช้คีมนี้ในการเข้าหัวสายแลน และสายโทรศัพท์ได้ ตัดสายก็ได้  เวลาเลือกซื้อก็จะมีสองเกรดเช่นกัน ให้เลือกแบบดี ๆ หน่อยจะทนทานและเข้าหัวง่ายกว่าแบบถูก ราคาแบบดีประมาณ 800 บาท แบบถูก ๆ ก็ 350-500 บาท

เมื่อได้ของครบแล้วก็มาดู วิธีการเข้าหัว LAN กันเลย


1.ปลอกเปลือกนอกของสาย CAT6 ออก โดยห่างจากปลายสายประมาณ 2-3 cm ใช้คัตเตอร์หรือมีดปลอกเปลือกที่มากับดริม

ระวังอย่าให้สายข้างในขาด สายภายในจะเป็นเรียวกันเป็นคู่ สี่คู่ สี่สี
2.คลายเกรียวออกทั้งหมด


3. จับเลียงลำดับสายใหม่ดังนี้หากต้องการทำสายตรง (ใช้สำหรับเครื่องคอมไป Hub)ให้เรียงสีดังนี้ทั้งสองข้าง ขาวส้ม- ส้ม- ขาวเขียว- ฟ้า- ขาวฟ้า- เขียว- ขาวน้ำตาล -น้ำตาล


ส่วนสายครอส ให้เรียงตามนี้ข้างหนึ่ง (สำหรับต่อคอมกับคอม)
ขาวเขียว ส้ม ขาวส้ม ฟ้า ขาวฟ้า เขียว ขาวน้ำตาล น้ำตาลและอีกข้างหนึ่ง ขาวส้ม- เขียว- ขาวเขียว- ฟ้า- ขาวฟ้า- ส้ม- ขาวน้ำตาล -น้ำตาล 

 4.    หลังจากเรียงสายเรียบร้อยแล้ว จับสายที่เรียงให้แน่น อย่าให้สลับ แล้วสอดเข้าหัว RJ-45 ให้สุดปลอก


5. นำสายพร้อมปลอกเข้าคริมแล้วบีบสุดแรงเกิด


6. หลังจากที่เราเข้าหัว RJ 45 กับสายแลนเสร็จแล้ว ให้นำมาทดสอบกับอุปกรณ์วัดสัญญาณ * สังเกตสัญญาณไฟ ถ้าต่อแบบตรงสัญญาณไฟจะตรงกันทั้งหมด 8 ช่อง หากสัญญาณไฟช่องใดสลับกันแสดงว่ามีหัว RJ 45 ด้านใดด้านหนึ่งเข้าหัวผิด (สลับสาย) ต้องตัดหัว RJ 45 ที่เข้าหัวผิด แล้วทำการเข้าหัว RJ 45 ใหม่


เข้าหัว RJ 45 แบบสายตรงที่เสร็จสมบูรณ์                                                         เข้าหัว RJ 45 แบบไขว์แบบ 
สมบูรณ์


 การต่อสาย LAN  
ข้อแนะนำในการติดตั้งสาย UTP มีดังนี้   
1.ไม่ควรหักงอสายเนื่องจากป้องกันคลื่นรบกวนได้ไม่ดีพอ   
2.อย่าม้วนสายเป็นขดๆ มากกว่า 10 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของสาย เนื่องจากจะเกิดสัญญาณรบกวนกันเอง และไม่ควรเดินสาย UTP นอกอาคารเนื่องจากป้องกันไฟสถิตไม่ได้   
3.ควรต่อสาย UTP กับ RJ-45 ให้ถูกตำแหน่งที่มีอยู่ทั้งหมด 8 เส้น ดังตารางช่องใน RJ-45 สีของสาย UTP  
4.ในการคลายสายที่ตีเกลียวออก ก่อนที่จะเข้าหัวสาย RJ-45 ควรจะคลายออกให้น้อยที่สุด   
5.ให้ใช้สายเส้นเดียวกันตลอดการเดินใน 1 จุด (ห้ามนำสายมาต่อกัน)   
6.ในการต่อฮับมากกว่า 1 ตัว สาย UTP ที่ใช้ต่อเชื่อมระหว่างฮับจะต้องมีความยาวไม่เกิน 100 เมตร และใน 1 Data Patch จะต้องมีฮับไม่เกิน 4 ตัว  
 7.ขณะเดินสายควรทำเครื่องหมายระบุหมายเลขไว้ด้วยที่ต้นสายและปลายสาย มิฉะนั้นอาจสลับสายกันทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้  
8.อย่าเดินสายใกล้กับแหล่งจ่ายไฟ หรือบริเวณที่มีสัญญาณรบกวน เช่น มอเตอร์ หม้อแปลงไฟ สายไฟบ้าน เป็นต้น แต่หากจำเป็นต้องเข้าใกล้สายดังกล่าว ให้เดินห่างจากสายสัญญาณมากกว่า 6 ฟุต  
9.เมื่อเดินสายสัญญาณเรียบร้อยแล้ว ควรจะวาดเส้นทางการเดินสายสัญญาณเก็บไว้ด้วย

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

สร้าง Connection LAN และแชร์ไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์

การสร้างเครือข่าย LAN ระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องคุณจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้

1.สาย Ethernet ก็คือสายแลนเรานี่ละคับ

2 .ไดรเวอร์ และ อะแดปเตอร์เครือข่าย ก็คือ การ์ดแลน กับไดร์เวอร์ ถ้ามีแบบออนบอร์ดก็ใช้แบบออนบอร์ดครับเหมือนกัน


ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อภายในพื้นที่ระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องโดยใช้ Windows XP หรือระบบปฏิบัติการ Vista  
1 เสียบปลายด้านหนึ่งของสาย เคเบิลอีเธอร์เน็ตพอร์ต Ethernet ของ Computer1 ปลายสายอีกด้านให้เสียบที่ Ethernet พอร์ต Ethernet ของ computer2

2.ให้เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คลิกเมนู Start ให้คลิกขวาที่ "My Computer" และเลือก "Properties" ตามรูป


3.หากคุณใช้Windows XP : ไปที่แท็บ “Computer Name” ล่างเลือกที่ "Change Settings"

4.คลิก “Change” และป้อนชื่อ Workgroup เป็นคำเฉพาะที่จะใช้ตั้งค่าชื่อกลุ่ม ของเครื่อข่ายที่จะใช้ร่วมกัน


5.คลิก"OK" จากนั้นทำขั้นตอนต่าง ๆ เหมือนกันกับ คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่ต่อร่วมกัน โดยที่ ชื่อ Workgroup ในขั้นตอนที่ 4 จะต้องเหมือนกัน  

6.เมื่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองจะถูกกำหนดชื่อ Workgroup เดียวกันและสายเคเบิลอีเทอร์เน็ตมีการเชื่อมต่อกันแล้วให้เรารีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง  

7.หลังจากรีบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองจะตรวจสอบการตั้งค่าเวิร์กกรุ๊ปโดยอัตโนมัติและตอนนี้คุณพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนไฟล์โฟลเดอร์และเอกสารในคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่อข่าย LAN แล้ว  แบ่งปันไฟล์ในเครือข่าย LAN






สัญลักษณ์ที่ใช้แทนอุปกรณ์ Cisco Devices Icon

Cisco Devices Icon

บทความนี้จะแนะนำถึงสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการแทนอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายของ Cisco ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานในการศึกษาระบบเครือข่ายหรืออุปกรณ์ของ Cisco ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาระบบเครือข่ายหรือกำลังเตรียมตัวสอบ Certificate Cisco







วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธี การแชร์ไฟล์ windows xp

เริ่มแรกก็ Double-CLick ที่ My Computer แล้วก็คลิกขวาที่ Drive C และเลือก Sharing and Security...













พอ Window นี้โผล่ขึ้นมาก็คลิกตรงที่เขียนว่า ...click here. ได้เลยครับ
















จากนั้นก็จะมี Window นี้ขึ้นมา ก็คลิกตรงที่เขียนว่า ...click here เหมือนเดิมครับ 





















ต่อมาก็เลือก Just enable file sharing แล้วก็คลิก OK ครับ












เสร็จแล้วก็คลิก OK ครับ





















คลิกขวาที่ Folder ที่ต้องการจะแชร์แล้วเลือก Sharing and Security ...













ติ๊กถูกในช่อง Share this folder on the network แล้วใส่ชื่อที่ต้องการใช้แชร์ในช่อง Share name (เพื่อการป้องกันปัญหากับ OS อื่น พยายามใช้ชื่อที่ไม่มีช่องว่าง เช่น my book ก็ให้ใช้ MyBook แทนครับ) แล้วก็คลิก Apply หรือ OK ก็ได้ครับ

















ในการเลือกที่กล่าวมานั้น คนที่เข้ามาใช้ไฟล์ใน Shared Folder นั้น จะสามารถอ่านไฟล์ได้ทุกไฟล์ แต่ไม่สามารถที่จะแก้ไข, Save ทับ หรือ ลบไฟล์ได้ แต่ถ้าคุณต้องการให้คนที่เข้ามาใช้ Shared Folder ของคุณทำได้ทุกอย่าง คุณต้องติ๊กเลือก Allow network users to change my files แต่มีข้อควรระวังนิดนึง คือถ้าเค้าเผลอไปลบไฟล์ที่อยู่ใน Shared Folder ของคุณ มันจะไม่เข้าไปอยู่ใน Recycle Bin เหมือนที่คุณลบเอง แต่มันจะหายไปเลยครับ 

















พอเข้ามาดูใน Windows Explorer คุณก็จะเห็นว่า Shared Folder มีรูปมือมารองไว้ดังรูปข้างล่างครับ












ต่อมาให้คลิกขวาที่ My Network Places แล้วเลือก Properties


















คลิกขวาที่ Wireless Network Connection หรือ Local Area Connection แล้วเลือก Properties














จากนั้นก็เข้ามาดูว่ามี File and Printer Sharing for Microsoft Networks หรือยัง? ส่วนมากจะมีอยู่แล้วครับ ต่อไปให้คลิก Install ครับ 





















เลือก Protocol แล้วคลิก Add


















เลือก NWLink IPX/SPX/NetBIOS Compatible Transport Protocol แล้วคลิก OK














เลือกแทป Advanced 






















คลิก Settings... 





















ถ้า Windows Firewall ยังไม่ On ก็ On ซะนะครับแล้วก็คลิก Exceptions





















ดูว่าที่ File and Printer Sharing มีเครื่องหมายถูกอยู่ข้างหน้าหรือยัง? ถ้ามีแล้ว ก็คลิก OK





















ต่อมาก็คลิกขวาที่ My Computer แล้วเลือก Properties

















ลองดูที่ Workgroup นะครับ เครื่องทุกเครื่องที่จะแชร์ไฟล์กัน ควรที่จะอยู่ใน Workgroup เดียวกันนะครับ ส่วนวิธีการเปลี่ยนชื่อคอมพิวเตอร์หรือ Workgroup ก็คลิกที่ Change

















เปลี่ยนได้ในนี้แหล่ะคร้บ (Computer name กับ Workgroup ไม่ควรมีช่องว่างภายในชื่อนะครับ)

















ต่อมาก็เลือก Tools แล้วก็ Folder Options ในโปรแกรม Windows Explorer












เข้ามาในหน้า View แล้ว Scroll ลงมาจนสุด ให้ดูด้วยว่ามีเครื่องหมายถูกอยู่หน้า Use simple file sharing ครับ ถ้าไม่มีก็ติ๊กซะ 

















เสร็จแล้วครับ ต่อไปก็ลองเข้ามาดูใน My Network Places คุณจะเห็น Computer ทุกเครื่องใน Workgroup ของคุณอยู่ภายใต้ Entire Network -> Microsoft Windows Network -> (ชื่อ Workgroup ของคุณ) 













ลองเข้ามาดูใน Folder ที่คุณแชร์ไว้นะครับ สำหรับเครื่องอื่นๆที่อยู่ใน Workgroup เดียวกัน ถ้าจะเข้ามาใช้ Folder นี้ ก็สามารถพิมพ์ตามที่อยู่ใน Address Bar ได้เลยครับ โดยใช้รูปแบบ (Computer name)(Shared Folder name) ครับ












ปิดท้ายแล้วครับ ถ้าคุณต้องการที่จะแชร์ Folder แต่คุณไม่ต้องการจะให้ใครเห็นใน Windows Explorer เวลาที่ Browse เข้ามา คุณก็สามารถที่จะทำได้โดยใส่เครื่องหมาย $ ลงไปที่หลังชื่อ ดังรูป 



วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สายแลน UTP และ UTP

สายแลน UTP และ UTP
     สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม
(UTP : Unshielded Twisted Pair)

     สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูป

สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม
(UTP : Unshielded Twisted Pair)

       สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม 
(STP : Shielded Twisted Pair)
      สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก

สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม
(STP : Shielded Twisted Pair)


เครื่องตรวงสอบว่าสายแลนทำงานได้หรือไม่



สายแลนต่างๆ