โทโปโลยี
โทโปโลยีของเครือข่าย (Network Topology)
จะอธิบายถึงแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ลักษณะทางกายภาพ ( Physical
Topology) หรือทางตรรกะ (Logical Topology)
ซึ่งจะแสดงถึงตำแหน่งของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ
และเส้นทางการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เหล่านี้
ประเภทของโทโปโลยี
โทโปโลยีแบบบัส
(Bus Topology)
โทโปโลยีแบบดวงดาว (Star Topology)
โทโปโลยีแบบวงแหวน
(Ring Topology)
โทโปโลยีแบบเมช (Mesh
Topology)
ระบบ
Bus
การเชื่อมต่อแบบบัส
จะมีสายหลัก 1 เส้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์
และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้
โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node
เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง
(Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล
และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C
ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
แบบ Ring
การเชื่อมต่อแบบวงแหวน ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU)
ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น
Workstation
หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี
เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ
เป็นการตอบรับ
เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก
แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป
ดังนั้นทุกสถานีบน
โทโปโลยี
วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์
แบบ Star
การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub
เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ
โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ
Fiber Optic
ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้
Switch
เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
แบบ MESH
เป็นรูปแบบ
ที่ถือว่า
สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง
ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย
คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง
ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น