วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สายแลน UTP และ UTP

สายแลน UTP และ UTP
     สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม
(UTP : Unshielded Twisted Pair)

     สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูป

สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม
(UTP : Unshielded Twisted Pair)

       สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม 
(STP : Shielded Twisted Pair)
      สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก

สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม
(STP : Shielded Twisted Pair)


เครื่องตรวงสอบว่าสายแลนทำงานได้หรือไม่



สายแลนต่างๆ


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Protocol

Protocol

โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสาร กันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ 


โปรโตคอล NetBEUI

โป รโตคอลNetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้น เป็นโปรโตคอลที่ไม่มี ส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Non-routableProtocol)โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่ายและหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับ ไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ก็คือไม่สามารถทำการBroadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่นๆที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้เป็นการแบ่งส่วนของเครือข่ายออกจากกันทางกายภาพหากต้องการเชื่อม ต่อเครือข่ายถึงกันจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างเช่น Router มาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่าย


โปรโตคอล AppleTalk

จุดเริ่มต้นของโปรโตคอล AppleTalk เกิดขึ้นในปีค.ศ.1983 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัท Apple Computer ต้องการออกแบบชุดโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลของตนเองขึ้น เพื่อใช้เชื่อมโยงเครือข่ายของเครื่องแบบแมคอินทอช และสามารถแชร์กับอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังขยายไปสู่การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์,เครื่อง พิมพ์, Gateway และ Router ของผู้ผลิตรายอื่นๆด้วยต่อจากนั้นเครื่องแมคอินทอชและอุปกรณ์ต่างๆที่บริษัท ผลิตออกมาก็ได้มีการเพิ่มส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้สามารถรองรับโปรโต คอลตัวนี้ได้ รวมถึงระบบปฏิบัติการ MacOS รุ่นใหม่ๆ


Topology

โทโปโลยี

โทโปโลยีของเครือข่าย (Network Topology) จะอธิบายถึงแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ลักษณะทางกายภาพ ( Physical Topology) หรือทางตรรกะ (Logical Topology) ซึ่งจะแสดงถึงตำแหน่งของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ และเส้นทางการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เหล่านี้

ประเภทของโทโปโลยี
    โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
    โทโปโลยีแบบดวงดาว (Star Topology)
    โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
    โทโปโลยีแบบเมช (Mesh Topology)


ระบบ Bus

การเชื่อมต่อแบบบัส จะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที




แบบ Ring

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์


 แบบ Star

การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า



แบบ MESH

เป็นรูปแบบ ที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
  

ฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย

ฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย


 สาย ที่ส่วนมากใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์มี 3 ประเภท คือสายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชียล และสายไฟเบอร์ออปติก การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สายที่นิยมมากที่สุด คือ ระบบเซลูลาร์ และคลื่นไมโครเวฟ

สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มี ชีลด์
 (Unshielded Twisted –Pair Cable :UTP)


สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์
(Shielded Twisted –Pair Cable :STP)


   ข้อดี ราคาถูก มีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการใช้งาน 
ข้อเสีย มีความเร็วจำกัด ใช้กับระยะทางสั้นๆ

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)


ข้อดี เชื่อมต่อได้ในระยะไกล  ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย  มีราคาแพง  สายมีขนาดใหญ่   ติดตั้งยาก


    ฮับ (HUB)  
มีหน้าที่ในการจัดการสัญญาณที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กระจายสัญญาณต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง หากมีการส่งสัญญาณพร้อม ๆ กันจะทำให้ความเร็วของการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายลดลง ดังนั้น HUB จึงไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีปัญหาเรื่องความเร็วในการสื่อสาร


สวิตช์ (Switch) 
จะมีความ สามารถในการทำงานมากกว่า Hub โดยที่อุปกรณ์ Switch จะทำงานในการ รับ-ส่งข้อมูล ที่สามารถส่งข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งของอุปกรณ์ ไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งข้อมูลไปหาเท่านั้น ซึ่งจากหลักการทำงานในลักษณะนี้ ทำให้พอร์ตที่เหลือของอุปกรณ์ Switch ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งข้อมูลนั้น สามารถทำการ รับ-ส่งข้อมูลกันได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ในปัจจุบันอุปกรณ์ Switch จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายมากกว่า ฮับ (Hub)

ประโยชน์ของเครือข่าย

ประโยชน์ของเครือข่าย

การ แลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่าย
 โดย ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึงข้อมูลจากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เหมือนกับการดึงข้อมูลมาใช้จากเครื่องของตนเอง และนอกจากดึงไฟล์ข้อมูลมาใช้แล้ว ยังสามารถคัดลอกไฟล์ไปให้ผู้อื่นได้อีกด้วย

ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ 
 อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น เช่น มีเครื่องพิมพ์ส่วนกลางในเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย


ใช้ โปรแกรมร่วมกัน
 ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรมจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เช่น โปรแกรม Word, Excel, Power Point ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดซื้อโปรแกรม สำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ และยังประหยัดเนื้อที่ในหน่วยความจำด้วย



ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี
 ก่อนที่ เครือข่ายจะเป็นที่นิยม องค์กรส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ในการจัดการงาน และข้อมูลทุกอย่างในองค์กร แต่ปัจจุบันองค์กรสามารถกระจายงานต่าง ๆ ให้กับหลาย ๆ เครื่อง แล้วทำงานประสานกัน เช่น การใช้เครือข่ายในการจัดการระบบงานขาย โดยให้เครื่องหนึ่งทำหน้าที่จัดการการเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ อีกเครื่องหนึ่งจัดการกับระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น



ติดต่อสื่อสารสะดวก
 รวดเร็ว เครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเพื่อนร่วมงานที่อยู่คนละที่ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว



เรียกข้อมูลจากบ้านได้
 เครือข่ายใน ปัจจุบันมักจะมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากระยะไกล เช่น จากที่บ้าน โดยใช้ติดตั้งโมเด็มเพื่อใช้หมุนโทรศัพท์เชื่อมต่อ เข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย



เครือข่ายอคือะไร

เครือข่าย หรือที่มักเรียกติดปากว่า เน็ตเวิร์ก (network) ก็คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้ ตัวอย่างของเครือข่ายที่เราคุ้นเคย ได้แก่ เครือข่ายของโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายวิทยุ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน เรียกว่า ช่องสัญญาณ (communication channel)

                                            เครือ งข่ายมีอยู่ 3 ประเภทได้ดังนี้

                                 เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)                               


                                   เครืองข่ายแมน (Metropolitan Area Network:Man)
                                                                         

เครือข่ายแวน (Wide Area Networks:Wan)


เครือ ข่ายระหว่างประเทศ (International Network)





เครือข่าย มีสาย และไร้สาย

           ระบบเครือข่าย ไร้สาย หรือ ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN  เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น



ระบบ เครือข่ายมีสาย