วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

OSI Model 7 Layer

OSI Model 7 Layer 

OSI Model เป็น medel มาตรฐานในการสื่อสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างระบบ 2 ระบบ ระบบจะเปิดการติดต่อสื่อสารในเค้าโครงสำหรับออกแบบ
ระบบเครื่อข่าย จะอนุญาตให้สื่อสารข้ามทุกรูปแบบของระบบคอมพิวเตอร์แยกเป็น 7 ชั้นแต่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นรูปแบบมาตรฐาน ISO
OSI Model ประกอบด้วย 7 Layer

1.Physical Layer
2.Data link Layer
3.Network Layer
4.Transport Layer
5.Sesion Layer
6.Presentation Layer
7.Application Layer




ทั้ง 7 สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1 Network support layer ได้แก่ Layer 1, 2, 3
กลุ่มที่ 2 Link ระหว่าง Network support layer กับ user support layer ได้แก่ layer 4
กลุ่มที่ 3 User support layer ได้แก่ layer 5, 6, 7


Functions of The Layers
Physical Layer
ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair(STP), Unshield Twisted Pair(UTP), Fibre Optic และอื่นๆ
-Physical ติดต่อระหว่างผู้รับ
-การส่งต่อข้อมูล
-สื่อกลาง & สัญญาณ
-เครื่องมือการติดต่อ


Data link layer
ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง
-ควบคุมการส่งข้อมูลบน Physical link
-ดูที่อยู่บนเครือข่าย Physical
-Framing
-ควบคุมให้เท่ากัน
-ควบคุมการผิดพลาด (Error)
-Synchronization ให้ผู้ส่งกับผู้รับใช้เวลาเดียวกันในส่งข้อมูล
-ควบคุมการใช้สายสื่อสาร

Network layer
ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน
-รับผิดชอบในการหาเส้นทางให้ส่งข้อมูลจากต้นทางไปปลายทาง
-Switching & Routing
-หาที่อยู่อย่างมีเหตุผล
-ไม่ต้องใช้ Technology ชั้นสูง
-ไม่ต้องใช้สายโดยตรง

Transport layer
ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end)โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port)ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
-ควบคุมการส่งข้อมูลจาก ต้นทางไปยังปลายทางข้อมูลใน Layer นี้เรียกว่า " package "
เหมือนกัน ใช้ port address
-Segmentation & Reassembly
-ส่งไปเป็นลำดับ Segment Number
-ควบคุมการติดต่อ
-Flow Control
-Eroor Control
-คุณภาพการบริการ (QoS)

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าหัว RJ-45

วิธีเข้าหัว RJ-45 และ อุปกรณ์ต่างๆในการเข้าหัว  
สิงที่ต้องเตรียม

1.สายแลนความยาวตามต้องการจะใช้แต่ต้องยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร หากน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้และความยาวสูงสุดของสายแลนไม่ควรเกิน 35-40 เมตร ถ้าต้องการใช้ยาวกว่านั้นควรเชื่อต่อ ด้วย Switching HUB


2.หัวแลน  หรือหัว RJ-45 หนึ่งเส้นใช้สองหัว ซื้อแบบดี ๆ หน่อยจะเข้าหัวง่ายถ้าซื้อแบบถูกตรงเขี้ยวมันจะไม่ค่อยคมเวลากดแล้วมันจะไม่แทงทะลุสายทำให้สายใช้งานไม่ได้ อย่างดีประมาณหัวละ 8 -10 บาท


3.คีมเข้าหัวแลน สามารถใช้คีมนี้ในการเข้าหัวสายแลน และสายโทรศัพท์ได้ ตัดสายก็ได้  เวลาเลือกซื้อก็จะมีสองเกรดเช่นกัน ให้เลือกแบบดี ๆ หน่อยจะทนทานและเข้าหัวง่ายกว่าแบบถูก ราคาแบบดีประมาณ 800 บาท แบบถูก ๆ ก็ 350-500 บาท

เมื่อได้ของครบแล้วก็มาดู วิธีการเข้าหัว LAN กันเลย


1.ปลอกเปลือกนอกของสาย CAT6 ออก โดยห่างจากปลายสายประมาณ 2-3 cm ใช้คัตเตอร์หรือมีดปลอกเปลือกที่มากับดริม

ระวังอย่าให้สายข้างในขาด สายภายในจะเป็นเรียวกันเป็นคู่ สี่คู่ สี่สี
2.คลายเกรียวออกทั้งหมด


3. จับเลียงลำดับสายใหม่ดังนี้หากต้องการทำสายตรง (ใช้สำหรับเครื่องคอมไป Hub)ให้เรียงสีดังนี้ทั้งสองข้าง ขาวส้ม- ส้ม- ขาวเขียว- ฟ้า- ขาวฟ้า- เขียว- ขาวน้ำตาล -น้ำตาล


ส่วนสายครอส ให้เรียงตามนี้ข้างหนึ่ง (สำหรับต่อคอมกับคอม)
ขาวเขียว ส้ม ขาวส้ม ฟ้า ขาวฟ้า เขียว ขาวน้ำตาล น้ำตาลและอีกข้างหนึ่ง ขาวส้ม- เขียว- ขาวเขียว- ฟ้า- ขาวฟ้า- ส้ม- ขาวน้ำตาล -น้ำตาล 

 4.    หลังจากเรียงสายเรียบร้อยแล้ว จับสายที่เรียงให้แน่น อย่าให้สลับ แล้วสอดเข้าหัว RJ-45 ให้สุดปลอก


5. นำสายพร้อมปลอกเข้าคริมแล้วบีบสุดแรงเกิด


6. หลังจากที่เราเข้าหัว RJ 45 กับสายแลนเสร็จแล้ว ให้นำมาทดสอบกับอุปกรณ์วัดสัญญาณ * สังเกตสัญญาณไฟ ถ้าต่อแบบตรงสัญญาณไฟจะตรงกันทั้งหมด 8 ช่อง หากสัญญาณไฟช่องใดสลับกันแสดงว่ามีหัว RJ 45 ด้านใดด้านหนึ่งเข้าหัวผิด (สลับสาย) ต้องตัดหัว RJ 45 ที่เข้าหัวผิด แล้วทำการเข้าหัว RJ 45 ใหม่


เข้าหัว RJ 45 แบบสายตรงที่เสร็จสมบูรณ์                                                         เข้าหัว RJ 45 แบบไขว์แบบ 
สมบูรณ์


 การต่อสาย LAN  
ข้อแนะนำในการติดตั้งสาย UTP มีดังนี้   
1.ไม่ควรหักงอสายเนื่องจากป้องกันคลื่นรบกวนได้ไม่ดีพอ   
2.อย่าม้วนสายเป็นขดๆ มากกว่า 10 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของสาย เนื่องจากจะเกิดสัญญาณรบกวนกันเอง และไม่ควรเดินสาย UTP นอกอาคารเนื่องจากป้องกันไฟสถิตไม่ได้   
3.ควรต่อสาย UTP กับ RJ-45 ให้ถูกตำแหน่งที่มีอยู่ทั้งหมด 8 เส้น ดังตารางช่องใน RJ-45 สีของสาย UTP  
4.ในการคลายสายที่ตีเกลียวออก ก่อนที่จะเข้าหัวสาย RJ-45 ควรจะคลายออกให้น้อยที่สุด   
5.ให้ใช้สายเส้นเดียวกันตลอดการเดินใน 1 จุด (ห้ามนำสายมาต่อกัน)   
6.ในการต่อฮับมากกว่า 1 ตัว สาย UTP ที่ใช้ต่อเชื่อมระหว่างฮับจะต้องมีความยาวไม่เกิน 100 เมตร และใน 1 Data Patch จะต้องมีฮับไม่เกิน 4 ตัว  
 7.ขณะเดินสายควรทำเครื่องหมายระบุหมายเลขไว้ด้วยที่ต้นสายและปลายสาย มิฉะนั้นอาจสลับสายกันทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้  
8.อย่าเดินสายใกล้กับแหล่งจ่ายไฟ หรือบริเวณที่มีสัญญาณรบกวน เช่น มอเตอร์ หม้อแปลงไฟ สายไฟบ้าน เป็นต้น แต่หากจำเป็นต้องเข้าใกล้สายดังกล่าว ให้เดินห่างจากสายสัญญาณมากกว่า 6 ฟุต  
9.เมื่อเดินสายสัญญาณเรียบร้อยแล้ว ควรจะวาดเส้นทางการเดินสายสัญญาณเก็บไว้ด้วย

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

สร้าง Connection LAN และแชร์ไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์

การสร้างเครือข่าย LAN ระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องคุณจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้

1.สาย Ethernet ก็คือสายแลนเรานี่ละคับ

2 .ไดรเวอร์ และ อะแดปเตอร์เครือข่าย ก็คือ การ์ดแลน กับไดร์เวอร์ ถ้ามีแบบออนบอร์ดก็ใช้แบบออนบอร์ดครับเหมือนกัน


ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อภายในพื้นที่ระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องโดยใช้ Windows XP หรือระบบปฏิบัติการ Vista  
1 เสียบปลายด้านหนึ่งของสาย เคเบิลอีเธอร์เน็ตพอร์ต Ethernet ของ Computer1 ปลายสายอีกด้านให้เสียบที่ Ethernet พอร์ต Ethernet ของ computer2

2.ให้เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คลิกเมนู Start ให้คลิกขวาที่ "My Computer" และเลือก "Properties" ตามรูป


3.หากคุณใช้Windows XP : ไปที่แท็บ “Computer Name” ล่างเลือกที่ "Change Settings"

4.คลิก “Change” และป้อนชื่อ Workgroup เป็นคำเฉพาะที่จะใช้ตั้งค่าชื่อกลุ่ม ของเครื่อข่ายที่จะใช้ร่วมกัน


5.คลิก"OK" จากนั้นทำขั้นตอนต่าง ๆ เหมือนกันกับ คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่ต่อร่วมกัน โดยที่ ชื่อ Workgroup ในขั้นตอนที่ 4 จะต้องเหมือนกัน  

6.เมื่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองจะถูกกำหนดชื่อ Workgroup เดียวกันและสายเคเบิลอีเทอร์เน็ตมีการเชื่อมต่อกันแล้วให้เรารีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง  

7.หลังจากรีบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองจะตรวจสอบการตั้งค่าเวิร์กกรุ๊ปโดยอัตโนมัติและตอนนี้คุณพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนไฟล์โฟลเดอร์และเอกสารในคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่อข่าย LAN แล้ว  แบ่งปันไฟล์ในเครือข่าย LAN






สัญลักษณ์ที่ใช้แทนอุปกรณ์ Cisco Devices Icon

Cisco Devices Icon

บทความนี้จะแนะนำถึงสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการแทนอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายของ Cisco ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานในการศึกษาระบบเครือข่ายหรืออุปกรณ์ของ Cisco ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาระบบเครือข่ายหรือกำลังเตรียมตัวสอบ Certificate Cisco